เฟอร์นิเจอร์บิ้วอินต่างจากฟิตอินอย่างไร

เฟอร์นิเจอร์บิ้วอิน ต่างจาก ฟิต-อินอย่างไร Built-in furniture VS Fit-in furniture
หลายท่านอ่านคิดว่าเฟอร์นิเจอร์ทั้ง 2 รูปแบบนี้เหมือนกันและมักจะถูกเหมารวมกับภายใต้ร่มของคำว่า “บิ้วอิน” เนื่องจากมีรูปลักษณ์ภายนอกที่เหมือนกันมากเมื่องานเสร็จเรียบร้อยแล้ว​ จะเห็นได้จากภาพตัวอย่างชุดครัวสีขาวเป็นงานบิ้วอินและชุดครัวสีเทาอ่อนเป็นงาน​ฟิตอิน แทบแยกไม่ออกเลยทีเดียวใช่มั๊ยคะ​ เรามาดูกันว่าบิ้วอิน​กับฟิตอินมีความแตกต่างกันอย่างไร

1. เฟอร์นิเจอร์บิ้วอิน หรือ Built-in furniture

เฟอร์นิเจอร์บิ้วอิน ต่างจาก ฟิต-อินอย่างไร

🛏️ วัสดุหลัก คือ ไม้อัดยาง

💰ราคา สูง เนื่องจากใช้ไม้อัดยางซึ่งเป็นไม้จริงในการผลิตและทำได้ยากต้องใช้เวลาทำนานและช่างที่ฝีมือเก่งจริงๆในการทำงานให้ออกมาเรียบร้อย

🛠️ สร้างโครงสร้างชิ้นงาน ด้วยเทคนิคการการเพาะโครงไม้อัดเพื่อประกอบเป็นตู้โดยใช้แผงข้างหรือผนังตู้ร่วมกันเป็นส่วนใหญ่

👷 ระยะเวลาที่ใช้หน้างาน ค่อนข้างนานโดยประมาณ 30-60วัน เนื่องจากนำไม้อัดเป็นแผ่นไปตัดทำโครงสร้างที่หน้างานและพ่นสีหรือติดลามิเนตเมื่อขึ้นโครงเสร็จ

🏡 ชิ้นงาน เรียบร้อยสวยงามทนทาน(หากช่างมีฝีมือดี)​ แต่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เนื่องจากยึดเข้ากับตัวบ้านอย่างถาวร​ ไม่สามารถถอดซ่อมแซมเป็นตู้ได้กรณีเกิดความเสียหายเนื่องจากตู้ไม่ได้แยกเป็นใบเพราะมีการใช้ผนังตู้ร่วมกันส่วนใหญ่

2. เฟอร์นิเจอร์ฟิต-อิน หรือ Fit-in furniture

🛏️ วัสดุหลัก คือ ไม้ปาร์ติเกิ้ลบอร์ด ไม้ MDF บอร์ด และไม้อัด มีราคาต่างกันขึ้นอยู่กับวัสดุที่เลือกใช้

💰 ราคา กลาง-สูง ขึ้นอยู่กับวัสดุหลักที่เลือกใช้ ทำได้ง่ายกว่าในเรื่องของเทคนิคในการตัดชิ้นงานเป็นหลายขนาดแล้วนำมาประกอบเป็นตู้ก่อนนำไปติดตั้ง​ ​เนื่องจากทำได้ไม่ยากสะดวกรวดเร็วและสามารถผลิตชิ้นส่วนล่วงหน้าได้​ งานแนวฟิตอินจึงเป็นที่นิยมของบริษัทเฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ที่อยู่ในท้องตลาด อย่างเช่น Modernform, Boonthaworn, และ IKEA

🛠️ สร้างโครงสร้างชิ้นงาน ด้วยเทคนิคการประกอบชิ้นส่วนเป็นตู้ ซึ่งแต่ละตู้จะมีไม้ที่ถูกตัดเป็นขนาดเหมาะสมมาประกอบกัน

👷 ระยะเวลาที่ใช้หน้างาน 1-3 วัน เนื่องจากผลิตเป็นชิ้นงานประกอบสำเร็จและนำไปติดตั้งหน้างาน หากเป็นงานสีสามารถพ่นไปจากโรงงานและงานลามิเนตสามารถเคลือบไปจากโรงงาน

🏡 ชิ้นงาน เรียบร้อยสวยงามฟิตกับพื้นที่บ้านเหมือนเฟอร์นิเจอร์บิ้วอิน ข้อดีคือสามารถเคลื่อนที่ได้เนื่องจากยึดเข้ากับตัวบ้านโดยใช้ฟิตติ้งพิเศษสามารถถอดออกได้ และสามารถถอดออกมาแก้ไข​เป็นตู้ได้หากเกิดความเสียหายเพราะใช้ตู้แยกเป็นใบ หากเลือกใช้วัสดุประเภทไม้ปาร์ติเกิ้ลและไม้​MDF​รุ่นไม่กันชื้นต้องดูแลเป็นพิเศษเนื่องจากไม่ทนทานต่อน้ำแช่ขัง​ ตอนนี้มีวัสดุรุ่น HMR​ ออกมาเพื่อช่วยในข้อด้อยนี้และยังมีไม้อัดที่สามารถเลือกใช้ได้หากมีงบประมาณเพียงพอ

หวังว่าบทความนี้คงจะช่วยสร้างความเข้าใจให้กับผู้อ่านเพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ของทุกท่านได้ดียิ่งขึ้นค่ะ หากมีข้อสงสัยอยากสอบถามเพิ่มเติมก็สามารถส่งข้อความมาทางเพจ Standard Decor Furniture ได้ค่ะ

คุณแพรว 📱: 0946399514 | Line ID: Praewster
คุณภูมิ 📱: 0878028170
📧: standarddecorth@gmail.com